วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หยาดน้ำค้าง

หยาดน้ำค้าง  sundew เป็นพืชกินสัตว์สกุลใหญ่สกุลหนึ่ง มีอยู่ประมาณ 194 ชนิด เป็นสมาชิกในวงศ์หญ้าน้ำค้าง สามารถล่อ จับ และย่อยแมลงด้วยต่อมเมือกของมันที่ปกคลุมอยู่ที่ผิวใบ โดยแมลงที่จับได้จะใช้เป็นสารเสริมทดแทนสารอาหารที่ขาดไปจากดินที่ต้นหยาดน้ำค้างขึ้นอยู่ หยาดน้ำค้างหลากหลายชนิดนั้น จะต่างกันไปทั้งในขนาดและรูปแบบ สามารถพบได้แทบจะในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา
ชื่อวิทยาศาสตร์ของหยาดน้ำค้าง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Drosera) มาจากคำในภาษากรีก δρόσος: "drosos" แปลว่า "หยดน้ำ หรือ น้ำค้าง" รวมทั้งชื่อในภาษาอังกฤษ "sundew" กลายมาจาก ros solis ซึ่งเป็นภาษาละตินแปลว่า "น้ำตาพระอาทิตย์" โดยมีที่มาจากเมือกบนปลายหนวดแต่ละหนวดที่แวววาวคล้ายน้ำค้างยามเช้า
ในประเทศไทยพบหยาดน้ำค้างอยู่ 3 ชนิดคือ จอกบ่วาย (Drosera burmannii Vahl), หญ้าน้ำค้าง (Drosera indica L.) และ หญ้าไฟตะกาด (Drosera peltata Sm.)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หยาดน้ำค้างเป็นพืชหลายปี (มีไม่กี่ชนิดที่เป็นพืชปีเดียว) โตชั่วฤดู มีรูปแบบเป็นใบกระจุกทอดนอนไปกับพื้นหรือแตกกิ่งก้านตั้งตรงกับพื้นดิน มีขนาดความสูง 1 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร ขึ้นอยู่กับชนิด ในชนิดที่มีรูปแบบลำต้นเลื้อยไต่สามารถยาวได้ถึง 3 เมตร เช่น ชนิด D. erythrogyne[2] หยาดน้ำค้างสามารถมีช่วงชีวิตได้ถึง 50 ปี[3] พืชสกุลนี้มีความสามารถในการดูดซึมสารอาหารจากเหยื่อที่จับได้เพราะหยาดน้ำค้างขนาดเล็กจะไม่มีเอนไซม์ (โดยเฉพาะไนเตรทรีดักเตส[4]) ที่ต้นไม้ทั่วไปใช้ดูดซึมสารประกอบไนโตรเจนในดิน












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น