วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดอกซากศพ


Titan Arum ดอกซากศพ หรือดอกบุกยักษ์ ดอกไม้ ที่ใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง หรือ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ " Amorphophallus titanum " ชื่อวิทยาศาสตร์แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายว่า ต้น "ลึงค์ยักษ์แปลง" คือแปลงกายให้เหมือนลึงค์แต่ไม่ใช่ลึงค์ เป็นพืชในเขตป่าร้อนชื้น ในพืชตระกูล "บัวผุด" (Rafflesia) เป็นดอกไม้เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช พบขึ้นอยู่บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ลำพังตัวช่อดอกแทงยอดตั้งขึ้นไปกว่า 3 เมตร จึงพืชสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเองจากสัตว์บางชนิด ขณะเดียวกัน กลิ่นน่าสะอิดสะเอียนที่หึ่งไปทั่ว กลับเย้ายวนแมลงบางชนิดให้มาดูดน้ำหวาน และผสมเกสรให้มัน กล่าวกันว่ากลิ่นของดอก Titan Arum คล้ายกับเนื้อเน่าสำหรับคน แต่กลับเป็นกลิ่นหอมยั่วน้ำลายแมลงเต่าที่ชอบกินของเน่าและแมลงวันให้มาช่วย ผสมเกสร กลีบดอกสีแดงเข้มยังช่วยลวงตาให้สัตว์นึกว่าเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่น่าตอม ด้วย ซึ่งจะบาน 72 ชั่วโมง

ดอกบัวผุด

Rafflesia arnoldii หรือดอกบัวผุด
เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บนรากของพืชจำพวกเถาองุ่นป่า (Tetrastigma) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ย่านไก่ต้ม มีลักษณะเด่นที่ดอกซึ่งเป็นดอกเดียวขึ้นจากพื้นดินมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นเหม็นมาก ให้เห็นระหว่างฤดูฝน ระหว่างพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม
ดอก ตูมอยู่จะคล้ายกับหม้อขนาดใหญ่มีกลีบหนาจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 70-80 เซนติเมตร ที่โคนของดอกมีกลีบนำสีน้ำตาลอมเหลืองเรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในดอกจะมีแผ่นแบนคล้ายจาน ด้านบนมีปุ่มคล้ายหนามแหลมจานนี้จะซ้อนเกสรตัวผู้และรังไข่ไว้ด้านล่าง ดอกจะบานอยู่ได้เพียง 4-5 วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะค่อยๆ ดำเน่าไป ดอกบัวผุดพบใน อำเภอพนม บนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสก ในจังหวัดสุราษฎ์ธานี ซึงเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี


ดอกบัวผุด

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หยาดน้ำค้าง

หยาดน้ำค้าง  sundew เป็นพืชกินสัตว์สกุลใหญ่สกุลหนึ่ง มีอยู่ประมาณ 194 ชนิด เป็นสมาชิกในวงศ์หญ้าน้ำค้าง สามารถล่อ จับ และย่อยแมลงด้วยต่อมเมือกของมันที่ปกคลุมอยู่ที่ผิวใบ โดยแมลงที่จับได้จะใช้เป็นสารเสริมทดแทนสารอาหารที่ขาดไปจากดินที่ต้นหยาดน้ำค้างขึ้นอยู่ หยาดน้ำค้างหลากหลายชนิดนั้น จะต่างกันไปทั้งในขนาดและรูปแบบ สามารถพบได้แทบจะในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา
ชื่อวิทยาศาสตร์ของหยาดน้ำค้าง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Drosera) มาจากคำในภาษากรีก δρόσος: "drosos" แปลว่า "หยดน้ำ หรือ น้ำค้าง" รวมทั้งชื่อในภาษาอังกฤษ "sundew" กลายมาจาก ros solis ซึ่งเป็นภาษาละตินแปลว่า "น้ำตาพระอาทิตย์" โดยมีที่มาจากเมือกบนปลายหนวดแต่ละหนวดที่แวววาวคล้ายน้ำค้างยามเช้า
ในประเทศไทยพบหยาดน้ำค้างอยู่ 3 ชนิดคือ จอกบ่วาย (Drosera burmannii Vahl), หญ้าน้ำค้าง (Drosera indica L.) และ หญ้าไฟตะกาด (Drosera peltata Sm.)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หยาดน้ำค้างเป็นพืชหลายปี (มีไม่กี่ชนิดที่เป็นพืชปีเดียว) โตชั่วฤดู มีรูปแบบเป็นใบกระจุกทอดนอนไปกับพื้นหรือแตกกิ่งก้านตั้งตรงกับพื้นดิน มีขนาดความสูง 1 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร ขึ้นอยู่กับชนิด ในชนิดที่มีรูปแบบลำต้นเลื้อยไต่สามารถยาวได้ถึง 3 เมตร เช่น ชนิด D. erythrogyne[2] หยาดน้ำค้างสามารถมีช่วงชีวิตได้ถึง 50 ปี[3] พืชสกุลนี้มีความสามารถในการดูดซึมสารอาหารจากเหยื่อที่จับได้เพราะหยาดน้ำค้างขนาดเล็กจะไม่มีเอนไซม์ (โดยเฉพาะไนเตรทรีดักเตส[4]) ที่ต้นไม้ทั่วไปใช้ดูดซึมสารประกอบไนโตรเจนในดิน